ศาลชี้ถูกต้อง!สั่งปรับ'ผอ.ประเวศ' แก้ตลาด'ป้าทุบรถ'ช้า
อาชญากรรม
ต่อมาผู้อำนวยการเขตประเวศ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งปรับเงินดังกล่าว โดยศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งที่ คส.3/2562 วินิจฉัยว่า ผู้อำนวยการเขตประเวศ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ได้รับแจ้งคำสั่งของศาลที่กำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 56 อันเป็นช่วงเวลา ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 18 ก.พ.61 นางสาวรัตนฉัตร แสงหยกตระการ หรือป้าเก่ง อายุ 57 ปี และนางสาวมณีรัตน์ แสงภัทรโชติ อายุ 61 ปี ใช้เสียม และขวานทุบรถกระบะนิสสัน รุ่นนาวาร่า สีขาว ที่จอดขวงประตูหน้าบ้าน แม้ผู้ถูกฟ้องที่ 2 จะได้ชี้แจงต่อศาลว่า ได้มีการดำเนินการและปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งศาลแล้วก็ตาม แต่จากรายงานของสำนักบังคับคดีปกครอง ที่ได้ออกตรวจสถานที่พิพาทหลายครั้ง และแจ้งต่อศาลเป็นระยะว่า ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ยังไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งศาลให้ถูกต้องครบถ้วนและปฏิบัติล่าช้า เช่น ยังคงปรากฏว่า มีการนำสินค้ามาวางจำหน่ายในที่ และทางสาธารณะบริเวณโดยรอบบ้านของผู้ฟ้องทั้งสี่ และมีการทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในท่อระบายน้ำทำให้เกิดการอุดตันของท่อระบายน้ำ เป็นต้น
สอดคล้องกับคำแถลงของผู้ฟ้องทั้งสี่ว่า ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งของศาล และการประกอบกิจการตลาดพิพาท ยังคงก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ฟ้องทั้งสี่อย่างต่อเนื่องมาโดยตลาด กรณีจึงรับฟ้องได้ว่า ผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 ปฏิบัติราชการแทน “กรุงเทพมหานคร” ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ในฐานะ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่ได้ดำเนินการใช้บังคับกฎหมายอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 18 ก.พ.61 รถจอดขวางหน้าบ้านจนมีการทุบรถ แล้วผู้ถูกฟ้องที่ 2 จึงได้กำหนดมาตรการหรือวิธีการในการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลตามลำดับขั้นตอนและติดตามการดำเนินการอย่างเคร่งครัดต่อเนื่องจนกระทั่งไม่มีผู้ค้านำสินค้ามาวางจำหน่าย และไม่ตั้งวางสิ่งของบริเวณรอบบ้านพักอาศัยของผู้ฟ้องทั้งสี่
ทั้งนี้ หากผู้อำนวยการเขตประเวศ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ไม่ละเลย แล้วดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อเนื่องนับตั้งแต่เมื่อได้รับแจ้งคำสั่งศาลในวันที่ 5 ส.ค.56 ปัญหาข้อพิพาทต่างๆ ในระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีโดยเฉพาะเหตุการณ์เมื่อวันที่ 18 ก.พ.61 รถจอดขวางหน้าบ้านจนมีการทุบรถย่อมไม่เกิดขึ้น ประกอบกับ เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง คือ วันที่ 1 ส.ค. 56 จนถึงวันที่ศาลนัดไต่สวน ในวันที่ 2 มี.ค.61 นับเป็นระยะเวลากว่า 4 ปีเศษ ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอสมควร
ดังนั้น จึงถือได้ว่า กรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องที่ 1 โดย ผู้อำนวยการเขตประเวศ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาโดยล่าช้าเกิดสมควร และเมื่อข้อเท็จจริงรับฟ้งได้ว่า การที่ ผู้อำนวยการเขตประเวศ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ไม่ได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองให้ถูกต้องครบถ้วนหรือปฏิบัติล่าช้า โดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ชำระค่าปรับต่อศาล เป็นเงินจำนวน 5,000 บาท โดยให้ชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งศาล จึงเป็นจำนวนเงินค่าปรับที่เหมาะสมกับสัดส่วน ความรับผิดชอบของผู้ถูกฟ้องที่ 2 และตามสมควรแก่กรณีแล้ว จากที่กฎหมายให้ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับใช้ชำระค่าปรับต่อศาลตามจำนวนที่สมควร ครั้งละไม่เกิน 50,000 บาท
แต่เมื่อผู้อำนวยการเขตประเวศ ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ก็ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระค่าปรับต่อศาล ถือได้ว่า ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลถูกต้องครบถ้วนแล้ว ศาลปกครองสูงสุด ไม่จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องที่ขอให้ระงับการปฏิบัติตามคำสั่งปรับอีกต่อไป ดังนั้น การที่ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ชำระค่าปรับต่อศาล โดยให้ชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งศาล และหากผู้ถูกฟ้องที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับ ศาลอาจมีคำสั่งให้มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สิน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2559 มาตรา 75/4 วรรคหนึ่ง, วรรคสาม และวรรคสี่ นั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง.
อ่านข่าว "ป้าทุบรถ" ทั้งหมดได้ที่นี่ ...