ข่าวแจงต้องจับมูลนิธิดัง ผลิตน้ำมันสกัดกัญชาแจกผู้ป่วย - kachon.com

แจงต้องจับมูลนิธิดัง ผลิตน้ำมันสกัดกัญชาแจกผู้ป่วย
อาชญากรรม

photodune-2043745-college-student-s

จากกรณีเมื่อวันที่1-2 เม.ย.  ได้มีการแพร่ภาพและเนื้อหาทางสื่อสังคมออนไลน์ว่า มีการแจกน้ำมันสารสกัดจากกัญชาให้กับประชาชนเพื่อนำไปใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยภายในวัดที่จ.พิจิตรและจ.ลพบุรีโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่ามีการนำสารสกัดจากกัญชามาแจกให้กับประชาชนผู้ป่วยจริง ซึ่งผู้นำมาแจกมาจากมูลนิธิแห่งหนึ่งในจ.สุพรรณบุรี เจ้าหน้าที่จึงเข้าตรวจสอบมูลนิธิดังกล่าวและพบต้นกัญชาที่เพาะปลูกได้ไม่นานกว่า200 ต้นน้ำมันสกัดจากกัญชาประมาณ20 ลิตรกัญชาบดผงประมาณ500 กรัมเมล็ดกัญชา1.8 กิโลกรัมและอุปกรณ์อื่นๆจึงจับกุมดำเนินคดีได้ผู้ต้องหา1 ราย จนมีกระแสข่าวไม่พอใจเจ้าหน้าที่ ความคืบหน้า
 
เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ที่โรงแรมบัดดี้  โอเรียนทอลริเวอร์ไซด์ จ.นนทบุรี นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการป.ป.ส. เปิดเผยว่าจากการเข้าตรวจสอบที่ทำการมูลนิธิดังกล่าวเมื่อพบกัญชาตามรายละเอียดข้างต้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องตรวจยึดและจับกุมผู้ต้องหาที่ทำการผลิตและครอบครองเพราะกัญชายังเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท5 การดำเนินการใดๆไม่ว่าจะผลิตนำเข้าส่งออกจำหน่ายครอบครองหรือเสพหากไม่ได้รับอนุญาตก็ถือเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งหากเจ้าพนักงานไม่ดำเนินการก็เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทั้งนี้ในส่วนมูลนิธิดังกล่าวได้อยู่ระหว่างยื่นเรื่องขออนุญาตนั้นขอตรวจสอบหลักฐานก่อนว่าดำเนินการอย่างไรบ้างแล้ว
 
"ขณะนี้มีเพียงองค์กรของรัฐ 2 หน่วยงานที่ได้รับอนุญาตในการผลิตคือองค์การเภสัชกรรมและกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอีกทั้งในระยะ 5 ปีแรกการผลิตนำเข้าส่งออกกัญชาให้อนุญาตได้เฉพาะหน่วยงานรัฐหรือโดยความร่วมมือของหน่วยงานของรัฐเท่านั้นสำหรับผู้ประสงค์ขออนุญาตหรือกรณีผู้ป่วยให้แจ้งการมีไว้ในครอบครองเกี่ยวกับกัญชาเพื่อให้ได้รับการยกเว้นโทษภายใน90 วันนับตั้งแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ซึ่งจะสิ้นสุดภายในวันที่19 พ.ค.62 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศซึ่งขณะนี้จากข้อมูลพบว่ามีผู้มายื่นเรื่องแล้วนับ100 ราย" เลขาธิการป.ป.ส. กล่าว 

 
นายนิยมเปิดเผยต่อว่าในส่วนมีกรณีการจัดงานวันกัญชาโลกที่ จ.บุรีรัมย์ระหว่างวันที่19-21 เม.ย.นี้ทางผู้จัดได้ประสานมายังป.ป.ส. เพื่อร่วมแสดงผลงานความรู้ทางวิชาการแต่หากมีการนำต้นกัญชามาแสดงต้องขออนุญาตกับอย. เสียก่อนนอกจากนี้มีพรรคการเมืองมาสนับสนุนมูลนิธิดังกล่าวนั้นสามารถทำได้เพราะเป็นการสนับสนุนตามปกติแต่ตอนนี้ยังไม่มีการพูดคุยเกี่ยวกับนโยบายการสนับสนุนแบบเสรี อย่างไรก็ตามกัญชายังคงเป็นยาเสพติดผิดกฎหมายการผลิตจำหน่ายครอบครองต้องได้รับอนุญาตประชาชนทั่วไปไม่สามารถปลูกกัญชาเองได้ นับแต่ได้มีการร่างกฎหมายจนกฎหมายมีผลบังคับใช้สำนักงาน ป.ป.ส. และสำนักงานอย. ได้มีการสร้างความรับรู้และความเข้าใจให้กับประชาชนมาโดยตลอดในหลากหลายช่องทางว่านโยบายของรัฐบาลที่เห็นว่ากัญชาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัยได้จึงให้มีการผ่อนปรนและออกกฎหมายเพื่อการดังกล่าวโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติและความปลอดภัยของประชาชนไทยเป็นที่ตั้งไม่มีส่วนเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ใดเป็นการเฉพาะทั้งสิ้น .
 
สำหรับพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ(ฉบับที่7) พ.ศ. 2562 ขึ้นไว้และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพอธิบดีกรมสุขภาพจิตนายกแพทยสภานายกสภาการแพทย์แผนไทยและนายกสภาเภสัชกรรมเป็นกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษด้วยเฉพาะในวาระที่เกี่ยวกับกัญชาและพืชกระท่อมรวมถึงมาตรา20 ที่บัญญัติภายในระยะเวลา3 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดฯประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุญาตให้ผลิตนำเข้าส่งออกจำหน่ายหรือมีกัญชาและพืชกระท่อมไว้ในครอบครองทุก6 เดือนขณะที่มาตรา21 ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลา5 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับการขอรับใบอนุญาตผลิตนำเข้าหรือส่งออกเฉพาะกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือการรักษาผู้ป่วยให้อนุญาตได้เฉพาะกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 นอกจากนี้ผู้ใดที่มีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์การรักษาผู้ป่วยการใช้รักษาโรคเฉพาะตัวหรือการศึกษาวิจัยอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่ต้องรับโทษโดยจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ภายใน90 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแต่ถ้ากรณีที่ไม่ได้รับอนุญาตให้กัญชานั้นตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขหรือให้ทำลาย
 

ทั้งนี้เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือโดยที่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันนอกจากนี้ปรากฏผลการวิจัยว่าสารสกัดจากกัญชาและพืชกระท่อมมีประโยชน์ทางการแพทย์เป็นอย่างมากซึ่งหลายประเทศทั่วโลกได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้มีการอนุญาตให้ประชาชนใช้กัญชาและพืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรคและประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 กัญชาและพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท5 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดเสพหรือนำไปใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยหรือนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และยังกำหนดโทษทั้งผู้เสพและผู้ครอบครองด้วยดังนั้นเพื่อเป็นการรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยที่จะได้รับและใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ในการรักษาและพัฒนาทางการแพทย์ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้ได้รับอนุญาตเพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการให้ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายและเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านยาของประเทศและป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดทางด้านยาสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถนำกัญชาและพืชกระท่อมไปทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ได้จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้